บริษัทประกัน แตกต่างจาก โบรกเกอร์ประกันอย่างไร

เวลาเราค้นหาข้อมูลเกี่ยวผลิตภัณฑ์ประกันภัย หลายคนอาจสงสัยว่า บริษัทประกันคืออะไร และ โบรกเกอร์ประกันคืออะไร เหตุก็เพราะว่าเรามักจะพบเจอคำนี้บ่อยเสียเหลือเกิน บทความนี้เรามาดูกันว่าที่จริงแล้วสองอย่างนี้คืออะไร และ ต่างกันอย่างไร 

บริษัทประกัน คืออะไร?

คือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจในการรับประกัน รับทำสัญญา (ออกกรมธรรม์) ให้ความคุ้มครองชีวิตและการออมเงิน หรือคุ้มครองภัยพิบัติต่างๆ เช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยรถยนต์ ประกันสุขภาพ ฯลฯ เป็นการดำเนินธุรกิจให้บริการทางด้านการเงินอีกรูปแบบหนึ่ง บริษัทประกันจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงภัยต่างๆ เพื่อคำนวณหาค่าเบี้ยประกัน ที่จะเรียกเก็บจากผู้เอาประกันทุกคนให้ได้เงินหรือกองทุนเพียงพอที่จะจ่ายค่าสินไหมประกัน ตามสัญญากรมธรรม์ประกันรูปแบบต่างๆ 

โบรกเกอร์ประกันรถ คืออะไร?

โบรกเกอร์ประกันรถ เป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ ประกันภัยรถยนต์ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบริษัทประกันกับพวกเราที่เป็นเจ้าของรถยนต์  หรือบุคคลที่มีความต้องการจะทำประกันภัยรถยนต์ โดยบริษัทเหล่านี้ต้องมีการแจ้งจดทะเบียนกับทางหน่วยงานรัฐบาลก่อนจึงจะสามารถเริ่มธุรกิจได้ ซึ่งลักษณะธุรกิจของบริษัทก็คือ เสนอขายความคุ้มครองต่อความเสียหายให้กับพวกเราๆ (หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือ เสนอขายประกันให้กับประชาชนทั่วไปนั่นเอง) ซึ่งโบรกเกอร์ประกันรถนี้ก็จะให้ความสำคัญกับประกันภัยรถยนต์เป็นหลักนั่นเอง และหน้าที่หลักๆ ของโบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์ก็คือ การให้คำแนะนำในเรื่องของประกันภัยรถยนต์ประเภทต่าง ๆ ของหลาย ๆ บริษัท ทั้งในส่วนของ ค่าเบี้ยประกัน  ความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ รวมถึงวงเงินที่ให้ความคุ้มครองอีกด้วย

ดังนั้น ความแตกต่างของโบรกเกอร์ประกันภัยรถยนต์ ก็คือ โบรกเกอร์จะไม่ได้สังกัดบริษัทประกันบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ซึ่งจะทำให้สามารถนำเสนอประกันภัยของทุกๆ บริษัทที่น่าสนใจให้กับพวกเราที่สนใจทำประกันภัยรถยนต์ได้ เรานั้นสามารถเลือกให้ตรงกับความต้องการของตัวเอง และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปของพวกเราให้มากที่สุดนั่นเอง

และท้ายที่สุด เพื่อนๆ ก็จะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ของประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภทของแต่ละบริษัทก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ค่าเบี้ยประกัน ทุนจดประกัน ประกันรถยนต์ชั้น 1 ราคาถูก ขอบเขตการครอบคลุมการชดเชยค่าเสียหาย เป็นต้น รวมถึงบางครั้งยังมีข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติมให้อีกอย่างเช่น ผ่อนจ่ายค่าเบี้ยประกัน 0% เป็นต้น